วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
 
 
 
 
 
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data transmission Channels)
  • ระบบแบบเดินสายเคเบิล (Wired system)
จะรวมถึงสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด โดยระบบเครือข่ายที่เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ห่างกันไม่มากนักจะสามารถใช้วิธีเดินสายแบบต่าง ๆ เอง ส่วนสายเคเบิลสำหรับการติดต่อระยะไกลโดยปกติก็คือระบบสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม (POTS - Plain Old Telephone Service) นั่นเอง
สายสัญญาณที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะมีชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะระเครือข่าย และความต้องการในการใช้งานดังนี้
  • สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลต์และไม่มีชีลต์ (Shielded and UnShielsed Twisted-Pair Cable)
เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยปกติแล้วสายคู่บิตเกลียวจะ หมายถึง สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (UTP) ซึ่งใช้ในการเดินสายโทรศัพท์และใช้ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ส่วนมาก ในขณะที่ สายคู่บิดเกลี่ยวแบบมีซิลด์ (STP) จะมีฉนวนโลหะหุ้มอยู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้สามารถป้งอันสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น สายเกลียวคู่หนึ่งคู่จะแทนช่องทางการสื่อสาร (channel) เพื่อให้สามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่าง เช่น ระบบสายโทรศัพท์

สายคู่บิดเกลียวตามมาตรฐาน EIA/ITA-568 สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ
  • Category 1 เป็นสาย UTP ที่ใช้ในระบบสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เมหาะสำหรัส่งสัญญาณเสียงไม่เหมาะกับการส่งข้อมูล
  • Category 2 เป็นสาย UTP ซึ่งเหมาะสำหรับกับการส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 4 เมกะบิตต่อวินาที
  • Category 3 เป็นสาย ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 10 เมกะบิตต่อวินาที มีการใช้งานมากในระบบ Token ring แบบ 4 Mbits/sec และ 10Base-T
  • Category 4 เป็นสายซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 16 เมกะบิตต่อวินาที มีใช้ในระบบ Token ring แบบ 16 Mbits/sec
  • Category 5 เป็นสายที่เหมาะสมกับการส่งข้อมูงได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาทที มีใช้ในระบบเครือข่ายความเร็วสูงรุ่นใหม่ ๆ เช่น Fast Ethernet และ ATM (Asynchronous Transfer Mode)
  • สารโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
มันเรียกสั้น ๆ ว่า สายโคแอก จะเป็นสายสื่อสารที่สามรถส่งข้อมูลไกลกว่าสายแบบคู่บิดเกลียว แต่มีข้อเสียคือราคาสูงกว่า ลักษณะของสายโคแอกจะประกอบด้วยส่วนของสายส่งข้อมูลที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนอยู่ตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์จากนั้นจึงหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สารโคแอกจะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบตด์และบรอดแบรนด์ พบการใช้งานได้มากจากสายเคเบิลทีวี ในปัจจุบันการใช้งานสายโคแอกกับระบบคอมพิวเตอร์เริ่มลดลง เนื่องจากการพัฒนาของสายคู่บิดเกลียวที่ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น