สายคู่บิดเกลียวมีชีลต์และไม่มีชีลต์
สื่อสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่มคือ 1.สื่อประเภทเหนี่ยวนำ ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง
2.สื่อประเภทกระจายคลื่น ได้แก่ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ
สื่อประเภทเหนี่ยวนำ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็จะนำสายทั้ง2 เส้นมาถักกันเป็นเกลียวคู่ โดยสายคู่หนึ่งก็จะใช้สำหรับการสื่อสารหนึ่งช่องทาง จำนวนคู่ที่เกิดจากการนำสาย2เส้นมาถักกันเป็นเกลียว ซึ่งอาจจะมีหลายๆคู่ที่นำมารวบเข้าด้วยกันและหุ้มด้วยฉนวนภายนอก **การที่นำสายมาถักเป็นเกลียว มีเหตุผลสำคัญคือ ช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวน** สายคู่บิดเกลียวจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ แบบมีชีลด์ และแบบไม่มีชีลด์
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีชีลด์ (UTP) เป็นสายชนิหนึ่งที่มีความนิยมใช้งานมากในปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้าน โดยหน่วยงาน EIA ได้มีการพัฒนามาตรฐานสาย UTP ตามเกรดการใช้งาน
**สาย UTP ที่นิยมใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น คือ (CAT 5)**
สายคู่บิดเกลียวชนิดมีชีลด์(STP) มีลักษณะคล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP จะมีชีลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีว่า UTP โดยหากมีการนำสาย UTP หลายๆเส้นมามัดรวมกันหรือมีการวางพลาดระหว่างกัน อาจเกิดสัญญาณรบกวนที่เรียกว่า ครอสทอล์ก ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาย STP นั้นมีคุณภาพที่ดีกว่า แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกันสำหรับการส่งข้อมูลด้วยสายคู่บิดเกลียว จะมีคุณลักษณะสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้ -กรณีส่งข้อมูลแบบ แอนะล็อก จำเป็นต้องมีเครื่องขยาย (Amplifiers) เพื่อเพิ่มเพิ่มกำลังส่งในระยะทางทุกๆ 5-6 กม.
-กรณีส่งข้อมูลแบบดิจิตอล จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)ในระยะทางทุกๆ 2-3 กม.
-ใช้งานบนระยะทางที่จำกัด
-มีแบนด์วิดธ์ที่จำกัด
-อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลจำกัด
-ไวต่อสัญญาณรบกวน
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว 2.สื่อประเภทกระจายคลื่น ได้แก่ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ
สื่อประเภทเหนี่ยวนำ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็จะนำสายทั้ง2 เส้นมาถักกันเป็นเกลียวคู่ โดยสายคู่หนึ่งก็จะใช้สำหรับการสื่อสารหนึ่งช่องทาง จำนวนคู่ที่เกิดจากการนำสาย2เส้นมาถักกันเป็นเกลียว ซึ่งอาจจะมีหลายๆคู่ที่นำมารวบเข้าด้วยกันและหุ้มด้วยฉนวนภายนอก **การที่นำสายมาถักเป็นเกลียว มีเหตุผลสำคัญคือ ช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวน** สายคู่บิดเกลียวจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ แบบมีชีลด์ และแบบไม่มีชีลด์
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีชีลด์ (UTP) เป็นสายชนิหนึ่งที่มีความนิยมใช้งานมากในปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้าน โดยหน่วยงาน EIA ได้มีการพัฒนามาตรฐานสาย UTP ตามเกรดการใช้งาน
**สาย UTP ที่นิยมใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น คือ (CAT 5)**
สายคู่บิดเกลียวชนิดมีชีลด์(STP) มีลักษณะคล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP จะมีชีลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีว่า UTP โดยหากมีการนำสาย UTP หลายๆเส้นมามัดรวมกันหรือมีการวางพลาดระหว่างกัน อาจเกิดสัญญาณรบกวนที่เรียกว่า ครอสทอล์ก ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาย STP นั้นมีคุณภาพที่ดีกว่า แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกันสำหรับการส่งข้อมูลด้วยสายคู่บิดเกลียว จะมีคุณลักษณะสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้ -กรณีส่งข้อมูลแบบ แอนะล็อก จำเป็นต้องมีเครื่องขยาย (Amplifiers) เพื่อเพิ่มเพิ่มกำลังส่งในระยะทางทุกๆ 5-6 กม.
-กรณีส่งข้อมูลแบบดิจิตอล จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)ในระยะทางทุกๆ 2-3 กม.
-ใช้งานบนระยะทางที่จำกัด
-มีแบนด์วิดธ์ที่จำกัด
-อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลจำกัด
-ไวต่อสัญญาณรบกวน
ข้อดี
-ราคาถูก
-ง่ายต่อการนำไปใช้
ข้อเสีย
-จำกัดความเร็ว
-ใช้กับระยะทางสั้นๆ
-ในกรณีเป็นสายแบบไม่มีชีลด์ ก็จะไวต่อสัญญาณรบกวน
สายโคแอกเชียล Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียลหรือมักเรียกสั้นๆว่า สายโคแอกซ์ จะมีช่วงความถี่ หรือแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว สายมักจะทำด้วย ทองแดงอยู่แกนกลาง และถูกหุ้มด้วยพลาสติกจากนั้นก็จะมีชีลด์หุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สายโคแอกเชียลนี้เป็นสายที่สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี
สายโคแอกเชียลที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้านนั่นเอง
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
-เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล
-ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
-มีราคาแพง
-สายมีขนาดใหญ่
-ติดตั้งยาก
สายไฟเบอร์ออปติค
สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอกภายในตันขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่า เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นแก้วบริสุทธิ์ โดยแกนกลางของเส้นใยนี้จะเรียกว่า คอร์ และจะถูกห้อมล้อมด้วยแคลดดิ้งและจากนั้นก็จะมีวัสดุที่ใช้สำหรับห่อหุ้มแคลดดิ้งหรือบัฟเฟอร์และตามด้วยวัสดุห่อหุ้มภายนอก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถนำสายไฟเบอร์ออปติคมาใช้ในการส่งข้อมูลได้ซึ่งมักเรียกว่าออปติคไฟเบอร์ นอกจากสายไฟเบอร์ออปติคยังเป็นสายที่ทนต่อการรบกวนสัญญาณภายนอกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าสายเคเบิลทั่วไป สายไฟเบอร์ออปติคนี้จะมีอยู่หลายชนิดด้วยกันตามแต่ละคุณสมบัติ
ข้อดีและข้อเสียของสายไฟเบอร์ออปติค
ข้อดี
-มีอัตราค่าลดทอนของสัญญาณต่ำ
-ไม่มีการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า
-มีแบนด์วิดธ์สูงมาก
-มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
-มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า
-มีความปลอดภัยในข้อมูล
-มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
-เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
-การเดินสายต้องระมัดระวังอย่าให้โค้งงอมาก
-มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
-การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
สื่อประเภทกระจายคลื่น
เป็นสื่อแบบไร้สาย การรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะผ่านอากาศซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้คอยจัดการกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่ 2ชนิดด้วยกัน
1.แบบ Directional เป็นแบบกำหนดทิศทางของสัญญาณ ด้วยการโฟกัสคลื่นนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำการรับส่งด้วยความระมัดระวัง โดยจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2.แบบ Omnidirection เป็นการกระจายสัญญาณรอบทิศทาง ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกไปนั้น จะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศทางในทางอากาศ ทำให้สามารถรับสัญญาณเหล่านี้ได้ด้วยการตั้งเสาอากาศ การกระจายสัญญาณแบบรอบทิศทาง เช่น วิทยุกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ ซึ่งทำได้โดยการติดตั้งสาอากาศทีวีเพื่อรับภาพสัญญาณโทรทัศน์ที่แพร่มาตามอากาศ
คลื่นวิทยุ (Radio Frequency)
การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นวิทยุ จะกระทำโดยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยการใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาณ ที่เรียกว่า มอดูเลต ด้วยการรวมคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกันทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้นๆ
ไมโครเวฟ (Terrestrial Microwave Transmission)
คลื่นโทรทัศน์และคลื่นไมโครเวฟจะสามารถทะลุผ่านไปยังชั้นบรรยากาศไปยังนอกโลก คลื่นโทรทัศน์จะมีช่วงความถี่ อยู่2ความถี่ที่นิยมใช้งานคือ คลื่น UHFและ VHF สำหรับคลื่นไมโครเวฟบนพื้นโลกจะเดินทางเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตามิได้โค้งไปตามเปลือกโลก ดังนั้นหากมีความต้องการส่งข้อมูลในระยะไกลออกไป จึงจำเป็นต้องมีจานรับส่งที่ทำหน้าที่ทวนสัญญาณเพื่อส่งต่อในระยะไกลออกไปได้ ข้อเสียของสัญญาณไมโครเวฟคือ สามารถถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งสภาพภูมิอากาศแปรปรวนก็จะส่งผลต่อระบบการสื่อสาร และเนื่องจากการสื่อสารด้วยไมโครเวฟบนพื้นดินนั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องของภูมิประเทศ เช่นภูเขาบดบังสัญญาณ ดังนั้นจึงเกิดไมโครเวฟบนฟ้า ซึ่งเรียกว่า ดาวเทียม
โทรศัพท์เซลลูลาร์(Cellular Telephone)
ยุค 1G (First-General Mobile Phone: Analog Voice) เป็นโทรศัพท์เซลลูลาร์ระบบแรกที่นำมาใช้งาน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไร้สายแบบ แอนาล็อก
ยุค 2G (Second-General Mobile Phone: Digital Voice) ได้มีการพัฒนาระบบเซลลูลาร์แบบดิจิตอลขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลกและเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
ยุค 3G (Third-General Mobile Phone: Digital Voice and Data) ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์อย่างเห็นได้ชัด โทรสัพท์ไม่ใช่แค่เพียงใช้งานเพื่อสื่อสารพูดคุยกันเท่านั้นแต่สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้ เช่นการเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อดำเนินธุกรรมบนเครือข่ายและมีแนวโน้มในอนาคตก็จะเป็นแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นเพื่อเข้าสู่ยุค 4G ต่อไป
อินฟราเรด (Infrared Transmission)
แสงอินฟราเรด มักนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า ด้วยการใช้รีโมตคอนโทรล ลำแสงอินฟราเรดจะเดินทางในแนวเส้นตรง สามารถสะท้อนวัตถุผิวเรียบได้ช่วงระยะเพียงไม่กี่เมตร
สำหรับข้อเสียของอินฟราเรดก็คือ แสงอินฟราเรดก็คือ แสงอินฟราเรดไม่สามารถสื่อสารทะลุวัตถุทึบแสงหรือกำแพงที่กีดขวางได้
บลูธูท(Bluetooth)
เทคโนโลยีบลูธูท ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นวิธีใหม่ของการเชื่อมต่อหูฟังเข้ากับเซลล์โฟนได้สะดวกยิ่งขึ้น มีข้อดี ตรงที่ลงทุนต่ำและใช้พลังงานต่ำ มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยแสงอินฟราเรดตรงที่สามารถสื่อสารทะลุสิ่งกีดขวางหรือกำแพงได้ อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารไร้สายด้วยการแผ่คลื่นออกเป็นรัศมีรอบทิศทางด้วยคลื่นความถี่สูง บลูธูท สามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายๆอุปกรณ์ด้วยกัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่งพิมพ์ แฟกซ์ และรวมถึงเครื่องพีดีเอ
ข้อกำหนดความต้องการของบลูธูทได้มีการระบุไว้ว่า
-ระบบต้องสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก
-รองรับการใช้งานทั้งข้อมูลและเสียง หรือมัลติมีเดียได้
-อุปกรณ์รับส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำและมีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถนำไปบรรจุไว้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง หรือเครื่องพีดีเอได้
**แต่ปัญหาของบลูธูทก็มีในเรื่องของการสื่อสารกับอุปกรณ์หลายๆอย่างพร้อมกันในด้านของการซิงโครไนซ์ข้อมูลกับอุปกรณ์แต่ละตัวที่ยังทำงานได้ไม่ดีนัก**
WAP (Wireless Application Protocol)
WAP เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย โดย WAP เป็นโปรโตคอลที่ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาต่างๆจะใช้ภาษา HTML เพื่อแสดงผลในรูปแบบของการเบราเซอร์เพื่อให้สามารถท่องไปยังอินเตอร์เน็ตได้
การพิจารณาตัวกลางส่งข้อมูล
การพิจารณาตัวกลางในการส่งข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่รองรับในอนาคต รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆประกอบ ซึ่งจะพิจารณาเกี่ยวกับด้านต่างๆดังนี้
1.ต้นทุน
2.ความเร็ว
3.ระยะทางและการขยาย
4.สภาพแวดล้อม
5.ความปลอดภัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น