การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )
สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ- การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา
- การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี
- การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง
- งานที่มีปริมาณมาก
- งานที่ต้องการความรวดเร็ว
- งานที่ต้องการความถูกต้อง
- งานที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูล
- งานที่มีความซับซ้อนในการคำนวณ
- งานที่มีขั้นตอนและรูปแบบการทำงานซ้ำๆ
“อิเล็กทรอนิกส์” คือ โทรศัพท์ แฟกซ์ อีเมล์ อินเทอร์เน็ต ก็ถือว่าเป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะคำว่า “วิธีการทางอิเล็กตรอนนั้น” จะหมายรวมถึงการส่งข้อมูลไปตามสายโทรศัพท์ สายแลน สายไฟเบอร์ หรือแม้แต่การส่งข้อมูลผ่าดาวเทียมก็ล้วนแล้วแต่เป็นการประยุกต์ใช้วิธีทางอิเล็กตรอนทั้งหมด
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์คือ เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของ ตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ ที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยน เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของ ตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
สำหรับคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" นั้น ถ้าเข้าใจกันแบบง่ายๆ ก็หมายถึง ข้อความที่แต่เดิมปรากฏอยู่บนกระดาษซึ่งใช้แสดงเจตนาหรือแสดงผลผูกพันของตัวบุคคล วันดีคืนดี พอมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถแปลงข้อความให้อยู่ในรูปของ "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" เพราะต้องส่งถึงกันหรือสื่อสารถึงกัน โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งถึงกันโดยทางอินเทอร์เน็ต หรือโดยทางโทรเลข หรือโดยทางโทรสาร
แม้กระทั่งทางโทรพิมพ์ที่อาจเป็นวิธีเก่าที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นกันเท่าไหร่นักในยุคนี้ จึงเป็นที่มาของการผลักดันให้เกิดการยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น และนั่นหมายถึง การยอมรับความเท่าเทียมกันของข้อความที่อยู่บนกระดาษ ให้เท่าเทียมกับข้อความที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ยังมีหลักการสำคัญอีกประการ ในการยอมรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เท่าเทียมกับลายมือชื่อธรรมดาที่เราๆ ท่านๆ เซ็นลงบนกระดาษ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ฟังก์ชันหรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ดัดแปลงข้อความ สัญลักษณ์ การระบุตัวบุคคลที่ส่งข้อความ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นฉบับจริงและไม่ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆก่อนถึงมือผู้รับ ใช้ตรวจสอบได้และผู้ส่งไม่สามารถปฏิเสธการส่งข้อมูลนั้นได้ "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" นั้น ก็ถือได้ว่าเป็น"ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" รูปแบบหนึ่ง โดยอาจเป็นลายมือชื่อที่สร้างขึ้นแบบง่ายๆ เช่น การพิมพ์สัญลักษณ์ต่างๆ ให้แสดงผลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้แทนลายเซ็นของตนเอง หรืออาจเป็นการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ทั้งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่อธรรมดาที่มนุษย์เป็นผู้เซ็นลงบนกระดาษ ต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้เช่นเดียวกัน นั่นคือ เพื่อใช้ยืนยันตัวบุคคลเจ้าของลายมือชื่อนั่นเอง ประเภทแรก สร้างโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biometrics Technology) เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา ฝ่ามือ เสียงประเภทที่สอง ใช้เทคโนโลยีกุญแจสาธารณะ (Public Key) เรียกว่า ลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)ลักษณะทั่วไปของลายมือชื่อดิจิตอล
- อยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์เรียงกัน โดยทั่วไปจะไม่แสดงความหมายให้มนุษย์เข้าใจได้
- ต้องอาศัยซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในการสร้าง
- หน้าตาของลายมือชื่อดิจิตอล ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ คือกุญแจส่วนตัวที่ใช้ในการสร้าง วิธีการสร้าง ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- การสร้างกุญแจคู่ (Key Pair) ประกอบด้วย กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในระบบรหัสแบบอสมมาตร (Asymmetric Cryptosystem)
- กุญแจส่วนตัว (Private Key) ผู้เป็นเจ้าของจะเป็นเพียงผู้เดียวที่รู้ว่ากุญแจของตนมีลักษณะเป็นอย่างไร และต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ ไม่ควรให้ผู้อื่นล่วงรู้ สามารถสร้างขึ้นมาเองหรือให้ผู้ประกอบการรับรอง (Certificate Authority) เป็นผู้สร้างให้
- กุญแจสาธารณะ (Public Key) จะต้องเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบและรู้ได้โดยปกติ ไม่จำเป็นต้องเก็บเป็นความลับ มักจะประกาศอยู่ในระบบเก็บรักษาข้อมูลของผู้ประกอบการเกี่ยวกับลายมือชื่อดิจิตอล
ผู้ประกอบการรับรอง (Certificate Authority)
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure-PKI) ซึ่งช่วยให้สามารถระบุตัวบุคคลได้อย่างสะดวกและมีความน่าเชื่อถือสูง ทำหน้าที่เป็นตัวกกลางในการตรวจสอบและออกใบรับรองให้แก่ผู้อื่นการใช้ลายมือชื่อดิจิตอล จะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่าย ได้แก่
- ผู้ส่งข้อมูล
- ผู้รับข้อมูล
- ผู้รับรองลายมือชื่อดิจิตอล
- บริการเทคโนโลยีเข้ารหัส (Cryptographic Service)
- บริการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรอง (Certification Management Service)
- บริการเสริม (Ancillary Service)
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Data Communications)
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้ดังนี้1. ผู้ส่งสาร (Sender) หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source)
2. ผู้รับสาร (Receiver) หรือ จุดหมายปลายทางข่าวสาร (Target)
3. สาร ( Message ) ซึ่งในปัจจุบันมักพบเห็นในรูปของสื่อประสม ( multimedia ) ที่อาจมีทั้งลักษณะที่เป็นข้อความตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
4. สื่อกลาง ( Media )
5. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software ) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง กฎระเบียบมาตรฐาน หรือข้อกำหนด ขั้นตอน ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถสื่อการกันได้เข้าใจ ซอฟต์แวร์ ( Software ) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น โปรแกรมรับส่งอีเมล์
ชนิดของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
1. สัญญาณแบบอนาล็อก (Analog signal) จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ของระดับสัญญาณจะมีความหมาย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น2. สัญญาณแบบดิจิทัล (Digital signal) จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาล็อก เนื่องจากมีการใช้งานค่าสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on / off หรือ 0 / 1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น