วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สายคู่บิดเกลียวมีชีลต์และไม่มีชีลต์

 
สายคู่บิดเกลียวมีชีลต์และไม่มีชีลต์
 
 
 
 
สื่อสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่มคือ             1.สื่อประเภทเหนี่ยวนำ ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง
2.สื่อประเภทกระจายคลื่น ได้แก่ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ
สื่อประเภทเหนี่ยวนำ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็จะนำสายทั้ง2 เส้นมาถักกันเป็นเกลียวคู่ โดยสายคู่หนึ่งก็จะใช้สำหรับการสื่อสารหนึ่งช่องทาง จำนวนคู่ที่เกิดจากการนำสาย2เส้นมาถักกันเป็นเกลียว ซึ่งอาจจะมีหลายๆคู่ที่นำมารวบเข้าด้วยกันและหุ้มด้วยฉนวนภายนอก **การที่นำสายมาถักเป็นเกลียว มีเหตุผลสำคัญคือ ช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวน**
สายคู่บิดเกลียวจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ แบบมีชีลด์ และแบบไม่มีชีลด์
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีชีลด์ (UTP)
เป็นสายชนิหนึ่งที่มีความนิยมใช้งานมากในปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้าน โดยหน่วยงาน EIA ได้มีการพัฒนามาตรฐานสาย UTP ตามเกรดการใช้งาน
**สาย UTP ที่นิยมใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น คือ (CAT 5)**
สายคู่บิดเกลียวชนิดมีชีลด์(STP) มีลักษณะคล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP จะมีชีลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีว่า UTP โดยหากมีการนำสาย UTP หลายๆเส้นมามัดรวมกันหรือมีการวางพลาดระหว่างกัน อาจเกิดสัญญาณรบกวนที่เรียกว่า ครอสทอล์ก ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาย STP นั้นมีคุณภาพที่ดีกว่า แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกัน
สำหรับการส่งข้อมูลด้วยสายคู่บิดเกลียว จะมีคุณลักษณะสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้ -กรณีส่งข้อมูลแบบ แอนะล็อก จำเป็นต้องมีเครื่องขยาย (Amplifiers) เพื่อเพิ่มเพิ่มกำลังส่งในระยะทางทุกๆ 5-6 กม.
-กรณีส่งข้อมูลแบบดิจิตอล จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)ในระยะทางทุกๆ 2-3 กม.
-ใช้งานบนระยะทางที่จำกัด
-มีแบนด์วิดธ์ที่จำกัด
-อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลจำกัด
-ไวต่อสัญญาณรบกวน
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว
ข้อดี
-ราคาถูก
-ง่ายต่อการนำไปใช้
ข้อเสีย
-จำกัดความเร็ว
-ใช้กับระยะทางสั้นๆ
-ในกรณีเป็นสายแบบไม่มีชีลด์ ก็จะไวต่อสัญญาณรบกวน

สายโคแอกเชียล Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียลหรือมักเรียกสั้นๆว่า สายโคแอกซ์ จะมีช่วงความถี่ หรือแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว สายมักจะทำด้วย ทองแดงอยู่แกนกลาง และถูกหุ้มด้วยพลาสติกจากนั้นก็จะมีชีลด์หุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สายโคแอกเชียลนี้เป็นสายที่สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี
สายโคแอกเชียลที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้านนั่นเอง
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
-เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล
-ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
-มีราคาแพง
-สายมีขนาดใหญ่
-ติดตั้งยาก

สายไฟเบอร์ออปติค
สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอกภายในตันขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่า เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นแก้วบริสุทธิ์ โดยแกนกลางของเส้นใยนี้จะเรียกว่า คอร์ และจะถูกห้อมล้อมด้วยแคลดดิ้งและจากนั้นก็จะมีวัสดุที่ใช้สำหรับห่อหุ้มแคลดดิ้งหรือบัฟเฟอร์และตามด้วยวัสดุห่อหุ้มภายนอก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถนำสายไฟเบอร์ออปติคมาใช้ในการส่งข้อมูลได้ซึ่งมักเรียกว่าออปติคไฟเบอร์ นอกจากสายไฟเบอร์ออปติคยังเป็นสายที่ทนต่อการรบกวนสัญญาณภายนอกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าสายเคเบิลทั่วไป สายไฟเบอร์ออปติคนี้จะมีอยู่หลายชนิดด้วยกันตามแต่ละคุณสมบัติ
ข้อดีและข้อเสียของสายไฟเบอร์ออปติค
ข้อดี
-มีอัตราค่าลดทอนของสัญญาณต่ำ
-ไม่มีการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า
-มีแบนด์วิดธ์สูงมาก
-มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
-มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า
-มีความปลอดภัยในข้อมูล
-มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
-เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
-การเดินสายต้องระมัดระวังอย่าให้โค้งงอมาก
-มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
-การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

สื่อประเภทกระจายคลื่น
เป็นสื่อแบบไร้สาย การรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะผ่านอากาศซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้คอยจัดการกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่ 2ชนิดด้วยกัน
1.แบบ Directional เป็นแบบกำหนดทิศทางของสัญญาณ ด้วยการโฟกัสคลื่นนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำการรับส่งด้วยความระมัดระวัง โดยจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2.แบบ Omnidirection เป็นการกระจายสัญญาณรอบทิศทาง ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกไปนั้น จะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศทางในทางอากาศ ทำให้สามารถรับสัญญาณเหล่านี้ได้ด้วยการตั้งเสาอากาศ การกระจายสัญญาณแบบรอบทิศทาง เช่น วิทยุกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ ซึ่งทำได้โดยการติดตั้งสาอากาศทีวีเพื่อรับภาพสัญญาณโทรทัศน์ที่แพร่มาตามอากาศ
คลื่นวิทยุ (Radio Frequency)
การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นวิทยุ จะกระทำโดยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยการใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาณ ที่เรียกว่า มอดูเลต ด้วยการรวมคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกันทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้นๆ
ไมโครเวฟ (Terrestrial Microwave Transmission)
คลื่นโทรทัศน์และคลื่นไมโครเวฟจะสามารถทะลุผ่านไปยังชั้นบรรยากาศไปยังนอกโลก คลื่นโทรทัศน์จะมีช่วงความถี่ อยู่2ความถี่ที่นิยมใช้งานคือ คลื่น UHFและ VHF สำหรับคลื่นไมโครเวฟบนพื้นโลกจะเดินทางเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตามิได้โค้งไปตามเปลือกโลก ดังนั้นหากมีความต้องการส่งข้อมูลในระยะไกลออกไป จึงจำเป็นต้องมีจานรับส่งที่ทำหน้าที่ทวนสัญญาณเพื่อส่งต่อในระยะไกลออกไปได้ ข้อเสียของสัญญาณไมโครเวฟคือ สามารถถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งสภาพภูมิอากาศแปรปรวนก็จะส่งผลต่อระบบการสื่อสาร และเนื่องจากการสื่อสารด้วยไมโครเวฟบนพื้นดินนั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องของภูมิประเทศ เช่นภูเขาบดบังสัญญาณ ดังนั้นจึงเกิดไมโครเวฟบนฟ้า ซึ่งเรียกว่า ดาวเทียม
โทรศัพท์เซลลูลาร์(Cellular Telephone)
ยุค 1G (First-General Mobile Phone: Analog Voice) เป็นโทรศัพท์เซลลูลาร์ระบบแรกที่นำมาใช้งาน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไร้สายแบบ แอนาล็อก
ยุค 2G (Second-General Mobile Phone: Digital Voice) ได้มีการพัฒนาระบบเซลลูลาร์แบบดิจิตอลขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลกและเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
ยุค 3G (Third-General Mobile Phone: Digital Voice and Data) ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์อย่างเห็นได้ชัด โทรสัพท์ไม่ใช่แค่เพียงใช้งานเพื่อสื่อสารพูดคุยกันเท่านั้นแต่สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้ เช่นการเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อดำเนินธุกรรมบนเครือข่ายและมีแนวโน้มในอนาคตก็จะเป็นแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นเพื่อเข้าสู่ยุค 4G ต่อไป
อินฟราเรด (Infrared Transmission)
แสงอินฟราเรด มักนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า ด้วยการใช้รีโมตคอนโทรล ลำแสงอินฟราเรดจะเดินทางในแนวเส้นตรง สามารถสะท้อนวัตถุผิวเรียบได้ช่วงระยะเพียงไม่กี่เมตร
สำหรับข้อเสียของอินฟราเรดก็คือ แสงอินฟราเรดก็คือ แสงอินฟราเรดไม่สามารถสื่อสารทะลุวัตถุทึบแสงหรือกำแพงที่กีดขวางได้
บลูธูท(Bluetooth)
เทคโนโลยีบลูธูท ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นวิธีใหม่ของการเชื่อมต่อหูฟังเข้ากับเซลล์โฟนได้สะดวกยิ่งขึ้น มีข้อดี ตรงที่ลงทุนต่ำและใช้พลังงานต่ำ มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยแสงอินฟราเรดตรงที่สามารถสื่อสารทะลุสิ่งกีดขวางหรือกำแพงได้ อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารไร้สายด้วยการแผ่คลื่นออกเป็นรัศมีรอบทิศทางด้วยคลื่นความถี่สูง บลูธูท สามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายๆอุปกรณ์ด้วยกัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่งพิมพ์ แฟกซ์ และรวมถึงเครื่องพีดีเอ
ข้อกำหนดความต้องการของบลูธูทได้มีการระบุไว้ว่า
-ระบบต้องสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก
-รองรับการใช้งานทั้งข้อมูลและเสียง หรือมัลติมีเดียได้
-อุปกรณ์รับส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำและมีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถนำไปบรรจุไว้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง หรือเครื่องพีดีเอได้
**แต่ปัญหาของบลูธูทก็มีในเรื่องของการสื่อสารกับอุปกรณ์หลายๆอย่างพร้อมกันในด้านของการซิงโครไนซ์ข้อมูลกับอุปกรณ์แต่ละตัวที่ยังทำงานได้ไม่ดีนัก**
WAP (Wireless Application Protocol)
WAP เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย โดย WAP เป็นโปรโตคอลที่ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาต่างๆจะใช้ภาษา HTML เพื่อแสดงผลในรูปแบบของการเบราเซอร์เพื่อให้สามารถท่องไปยังอินเตอร์เน็ตได้
การพิจารณาตัวกลางส่งข้อมูล
การพิจารณาตัวกลางในการส่งข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่รองรับในอนาคต รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆประกอบ ซึ่งจะพิจารณาเกี่ยวกับด้านต่างๆดังนี้
1.ต้นทุน
2.ความเร็ว
3.ระยะทางและการขยาย
4.สภาพแวดล้อม
5.ความปลอดภัย


สายใยนําแสง

สายใยนําแสง
 
 
 
สายใยแก้วนำแสง
โครงสร้างของใยแก้วนำแสง
ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็นแกน (Core) ซึ่งจะอยู่ตรงกลางหรือชั้นในแล้ว หุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม (Cladding) แล้วถูกหุ้มด้วยส่วนป้องกัน (Coating) อีกชั้นหนึ่ง โดยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนี
หักเหของแสงต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะต้องคำนึงถึงหลักการหักเหและสะท้อนกลับหมดของแสง ส่วนที่เหลือก็จะเป็นส่วนที่ช่วยใน
การติดตั้งสายสัญญาณได้ง่ายขึ้น เช่น Strengthening Fiberก็เป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้สายไฟเบอร์ขาดเมื่อมีการดึงสายในตอนที่
ติดตั้งสายสัญญาณ
1. แกน (Core) เป็นส่วนตรงกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วนนำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมาก กว่าส่วนของแคลดลำแสง ที่ผ่านไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อนที่ไปตามแกนของเส้นใยแก้วนำแสงด้วยกระบวนการสะท้อน กลับหมดภายใน
2. ส่วนห่อหุ้ม (Cladding) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนของแกนเอาไว้ โดยส่วนนี้จะมีดัชนีหักเหน้อยกว่าส่วนของแกน เพื่อ ให้แสงที่เดินทางภายในแกนสะท้อนอยู่ภายในแกนตามกฎของการสะท้อนด้วยการสะท้อนกลับหมด โดยใช้หลักของมุมวิกฤติ
3. ส่วนป้องกัน (Coating/Buffer) เป็นชั้นที่ต่อจากแคลดเป็นที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้นใยแก้วนำแสงและยังใช้
์เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสงโครงสร้างอาจจะประกอบไปด้วยชั้นของพลาสติกหลายๆ ชั้น นอกจากนั้นส่วนป้อง กันยังทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันจากแรงกระทำภายนอกอีกแล้ว ตัวอย่างของค่าดัชนีหักเห เช่น แกนมีค่า ดัชนีหักเหประมาณ 1.48 ส่วนของแคลดและส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนออกไปภายนอกและป้องกันแสงภายนอกรบกวน จะมีค่าดัชนี
หักเหเป็น 1.46 และ 1.52 ตามลำดับประเภทของสายใยแก้วนำแสง
ภายใน Fiber Optic นั้น จำนวนของลำแสงที่เดินทางหรือเกิดขึ้นจะเป็นตัวบอก Mode ของแสงที่เดินทางภายใน Fiber
Optic นั้นๆ กล่าวคือ ถ้ามีแนวของลำแสงอยู่ในแนวเดียว เรียกว่า Single Mode Fiber Optic (SMF) แต่ถ้าหากภายใน Fiber Optic นั้น
มีแนวของลำแสงอยู่เป็นจำนวนมาก เราเรียกว่า Multi-Mode Fiber Optic (MMF)
1. Single Mode Fiber Optic มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนและ Cladding ประมาณ 5-10 และ 125 ไมครอน
ตามลำดับ ซึ่งส่วนของแกนมีขนาดเล็กกว่า Fiber Optic ชนิด Multi-mode มาก และให้แสงออกมาเพียง Mode เดียว
2. Multimode Fiber Optic ส่วนใหญ่มีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางของแกนและ Cladding โดยประมาณ 50 ไมครอน
62.5 ไมครอน โดยมี Cladding ขนาด 125 ไมครอน เนื่องจากขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนมีขนาดใหญ่ ดังนั้นแสงที่
ตกกระทบที่ด้านปลาย Input ของสาย Fiber Optic จะมีมุมตกกระทบที่แตกต่างกันหลายค่า และจากหลักการสะท้อนแสงกลับ
หมดของแสงที่เกิดขึ้น ภายในส่วนของแกนทำให้มีแนวของลำแสงเกิดขึ้นหลาย Mode โดยแต่ละ Mode ใช้ระยะเวลาในการ
เดินทางที่แตกต่างกัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกกระจายของแสง (Mode Dispersion) Multimode Fiber Optic มี 2 แบบ
ได้แก่ Step Index และ Grade Index
 


ระบบเดินสายเคเบิล

ระบบเดินสายเคเบิล
 
 
 
      ระบบทีวีรวม (MATV) – ระบบทีวีรวม เป็นระบบกระจายสัญญาณภาพไปยังสายนำสัญญาณ ที่อยู่ภายในอาคาร และ จุดรับชมอยู่ภายในอาคารนั้น เป็นระบบที่มีสายอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์ช่องต่างๆ เพียงชุดเดียว แต่สามารถป้อนสัญญาณไปยังจุดต่างๆในอาคารขนาดใหญ่ได้เป็นจำนวนหลายร้อยจุด
การออกแบบและติดตั้งระบบ MATV จะทำการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นเป็นช่วงๆ ทำให้สัญญาณปลายทางแรงพอ ที่จะทำให้เครื่องรับโทรทัศน์รับสัญญาณได้ชัดเจน นอกจากสัญญาณโทรทัศน์ แล้วยังสามารถรวมสัญญาณวิทยุ FM.สัญญาณวิดีโอโทรทัศน์วงจรปิดหรือสัญญาณจากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเข้า ไปในระบบ โทรทัศน์รวมได้อีกด้วย

โครงสร้างระบบ ของระบบทีวีรวมแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
ห้องส่ง (HEAD END)
เป็นส่วนที่รวบรวมสัญญาณภาพต่างๆ ที่ต้องการรับชมรวมทั้งข่าวสารต่างๆให้รวมอยู่ ในสายนำสัญญาณเพียงเส้นเดียวโครงข่ายสายนำสัญญาณ เป็นส่วนที่จะนำพาสัญญาณภาพจากห้องส่ง ไปยังจุดรับชมต่างๆ โครงข่ายสายนำสัญญาณของระบบทีวีรวม จะอยู่ภายในอาคารเท่านั้น

อุปกรณ์ขยายสัญญาณ
เป็นส่วนขยายสัญญาณภาพ เพื่อทำให้สัญญาณภาพมีความคมชัดเท่ากันทุกจุดรับชม
สถานที่ที่เหมาะกับการติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
โรงแรม, โรงพยาบาล, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, อาคารที่มีจุดรับชมมากๆ
ระบบเคเบิลทีวีท้องถิ่น (CATV) - ระบบเคเบิลทีวีท้องถิ่น เป็นระบบกระจายสัญญาณภาพ ไปยังสายนำสัญญาณที่อยู่ภายนอกอาคาร ระบบนี้ส่วนใหญ่จะทำในบริเวณที่มีปัญหาในการรับสัญญาณ โทรทัศน์จากจุดส่ง เช่น ความแรงของสัญญาณต่ำไปเนื่องจากอยู่ห่างจากจุดส่งมาก บริเวณที่มีภูเขาบัง หรืออยู่ในหุบเขา จึงต้องตั้งเสาสูงมากๆ หรือ อาจจะรับจากจานรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งลักษณะของการป้อนสัญญาณจะเป็นแนวราบ หรือ ในบริเวณที่เป็นพื้นที่กว้าง เช่น จังหวัด อำเภอ เทศบาล หมู่บ้าน รีสอร์ท ซึ่งการติดตั้งในระบบนี้ทำให้ไม่ต้องมีเสาอากาศระเกะระกะบนหลังคาบ้านแต่ละ หลัง และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ณ จุดๆเดียว
โครงสร้างระบบ ของระบบทีวีรวมแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
ห้องส่ง (HEAD END) เป็นส่วนที่รวบรวมสัญญาณภาพต่างๆ ที่ต้องการรับชม รวมทั้งข่าวสารต่างๆให้รวมอยู่ในสายนำสัญญาณ เพียงเส้นเดียว
โครงข่ายสายนำสัญญาณ เป็นส่วนที่จะนำพาสัญญาณภาพ จากห้องส่งไปยังจุดรับชมต่างๆ โครงข่ายสายนำสัญญาณ ของระบบเคเบิลทีวีท้องถิ่นจะอยู่ภายในอาคารเท่านั้น
อุปกรณ์ขยายสัญญาณ เป็นส่วนขยายสัญญาณภาพ เพื่อทำให้สัญญาณภาพมีความคมชัดเท่ากันทุกจุดรับชม อุปกรณ์ขยายสัญญาณจะอยู่ภายนอกอาคารเท่านั้น
สถานที่ที่เหมาะกับการติดตั้งระบบทีวีท้องถิ่น (CATV) จังหวัด, อำเภอ, เทศบาล,ตำบล, หมู่บ้าน, สถานที่ที่มีอาคารหลายหลัง

ระบบไร้สาย

ระบบไร้สาย
 
 
 
ประวัติความเป็นมา ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบBi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
ความหมาย
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
ที่สำคัญก็คือ การที่ไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันโลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องปาล์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
- หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
-
นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน้ตบุ๊กเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ตจากสนามหญ้าในมหาลัยได้
นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย

1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด
ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษาและการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งานโดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย
 
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )


รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2.2 Client/server (Infrastructure mode)
ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น

2.3 Multiple access points and roaming

โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง

2.4 Use of an Extension Point


กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ

2.5 The Use of Directional Antennas
ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน

ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์

ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์
 
 
 
 
 
ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband)
จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลักๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband

ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband)
จะตรงข้ามกับ Baseband นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น

การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนาน

การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนาน
 
 
 
          พื้นฐานของการเชื่อมโยงระหว่าง 2 ตำแหน่ง มีอุปกรณ์ 2 ชุด ทางซ้ายมือเป็นสถานีควบคุมระบบ ซึ่งเรียกว่า สถานีปฐมภูมิ (Remote) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปยัง สถานีทุติยภูมิ (Secondary) หรืออุปกรณ์ทางไกล (Remote) ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดของระบบ โดยเชื่อมโยง (Link) การสื่อสารซึ่งปกติจะอยู่ในรูปแบบของการต่อแบบขนานจากอุปกรณ์อย่างหนึ่งหรือมากกว่าขึ้นไป ชุดอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ (Printer) แป้นพิมพ์ (Keyboard) เครื่องแฟกซ์ (Facsimile : FAX ) และส่วนแสดงผลข้อมูล (Display Termanal) ข่าวสารเล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะได้รับข้อมูลที่ส่งมาในรูปแบบข้อมูลแบบขนานเข้าสู่ระบบ ซึ่งข้อมูลขนาน (Parallel Data) คือกลุ่มของดิจิตอลบิต (Digital Bit) ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ละบิตใช้สื่อสารแต่ละเส้นทางของตนเองจึงทำให้ส่งข้อมูลได้หลายๆ บิตในเวลาเดียวกัน แต่การที่จะต้องใช้เส้นทางข้อมูลหลายๆ เส้นทางทำได้ลำบากและเสียค่าใช้จ่ายสูงเมื่อต้องการส่งระยะทางไกลๆ ดังนั้น การส่งข้อมูลไปตามเส้นทางข้อมูลเดียวระหว่าง 2 สถานีเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่า การกระทำเช่นนี้ใช้ได้เมื่อเราใช้ข้อมูลแบบขนาน จากนั้นก็เปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบอนุกรม (Serial) ซึ่งเป็นข้อมูลของแต่ละบิตต่อเนื่องกัน แม้วิธีนี้จะส่งข้อมูลได้ช้ากว่าแต่ก็ใช้เส้นทางข้อมูลเพียงเส้นทางเดียวในการเคลื่อนย้ายข้อมูลการส่งข้อมูลภายในระบบการสื่อสารจากแหล่งต้นกำเนิดไปปลายทางสามารถรับส่งข้อมูลผ่านสารการสื่อสารสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.กรณีการส่งข้อมูลแบบอนุกรม แต่ละบิตของข้อมูลถูกส่งไปใยช่องทางการสื่อสาร 1 ช่องและครั้งละ 1 บิต เรียงลำดับกันไป ความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อย จึงสามารถส่งข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ และลำดับการรับข้อมูลจะตรงกับลำดับการส่ง ค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลจะราคาถูกกว่าแบบขนาน เพราะใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องเดียว ความเร็วในการส่งข้อมูลประมาณ 300-1,200 บิตต่อวินาที
2.กรณีการส่งข้อมูลแบบขนาน ทุกบิตของข้อมูลจะถูกแบบส่งตามช่องทางการสื่อสารในเวลาเดียวกัน เมื่อเทียบทั้ง 2 วิธีพบว่า การส่งข้อมูลแบบขนาน เนื่องจากการส่งข้อมูลแบบขนานต้องใช้สายนำข้อมูลจำนวนมาก และยังต้องมีความเร็วในการส่งสูงกว่าด้วยเพราะทุกบิตส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน การส่งข้อมูลแบบขนานมีความเร็วสูงกว่า 9,600 บิตต่อวินาที มีผลทำให้การใช้งานการส่งข้อมูลแบบขนานเหมาะสำหรับเครื่องรับติดตั้งใกล้เครื่องส่ง ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์จะมีความยาว 8 บิต หรือ 16 บิต ต่อ 1 คำ ดังนั้นจ้องมีสายให้พอกับจำนวนบิตที่ต้องการส่งออกไปพร้อมกัน เช่น ข้อมูล 8 บิต ก็ต้องมีสายส่ง 8 เส้น เป็นต้น



การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
 
 
 
 

การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )

สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ
  1. การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา
  2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี
  3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง
  • งานที่มีปริมาณมาก
  • งานที่ต้องการความรวดเร็ว
  • งานที่ต้องการความถูกต้อง
  • งานที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูล
  • งานที่มีความซับซ้อนในการคำนวณ
  • งานที่มีขั้นตอนและรูปแบบการทำงานซ้ำๆ
อิเล็กทรอนิกส์ “หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ
“อิเล็กทรอนิกส์” คือ โทรศัพท์ แฟกซ์ อีเมล์ อินเทอร์เน็ต ก็ถือว่าเป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะคำว่า “วิธีการทางอิเล็กตรอนนั้น” จะหมายรวมถึงการส่งข้อมูลไปตามสายโทรศัพท์ สายแลน สายไฟเบอร์ หรือแม้แต่การส่งข้อมูลผ่าดาวเทียมก็ล้วนแล้วแต่เป็นการประยุกต์ใช้วิธีทางอิเล็กตรอนทั้งหมด

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์คือ เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของ ตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ ที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยน เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของ ตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
สำหรับคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" นั้น ถ้าเข้าใจกันแบบง่ายๆ ก็หมายถึง ข้อความที่แต่เดิมปรากฏอยู่บนกระดาษซึ่งใช้แสดงเจตนาหรือแสดงผลผูกพันของตัวบุคคล วันดีคืนดี พอมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถแปลงข้อความให้อยู่ในรูปของ "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" เพราะต้องส่งถึงกันหรือสื่อสารถึงกัน โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งถึงกันโดยทางอินเทอร์เน็ต หรือโดยทางโทรเลข หรือโดยทางโทรสาร
แม้กระทั่งทางโทรพิมพ์ที่อาจเป็นวิธีเก่าที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นกันเท่าไหร่นักในยุคนี้ จึงเป็นที่มาของการผลักดันให้เกิดการยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น และนั่นหมายถึง การยอมรับความเท่าเทียมกันของข้อความที่อยู่บนกระดาษ ให้เท่าเทียมกับข้อความที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ยังมีหลักการสำคัญอีกประการ ในการยอมรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เท่าเทียมกับลายมือชื่อธรรมดาที่เราๆ ท่านๆ เซ็นลงบนกระดาษ

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ฟังก์ชันหรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ดัดแปลงข้อความ สัญลักษณ์ การระบุตัวบุคคลที่ส่งข้อความ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นฉบับจริงและไม่ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆก่อนถึงมือผู้รับ ใช้ตรวจสอบได้และผู้ส่งไม่สามารถปฏิเสธการส่งข้อมูลนั้นได้ "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" นั้น ก็ถือได้ว่าเป็น"ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" รูปแบบหนึ่ง โดยอาจเป็นลายมือชื่อที่สร้างขึ้นแบบง่ายๆ เช่น การพิมพ์สัญลักษณ์ต่างๆ ให้แสดงผลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้แทนลายเซ็นของตนเอง หรืออาจเป็นการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ทั้งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่อธรรมดาที่มนุษย์เป็นผู้เซ็นลงบนกระดาษ ต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้เช่นเดียวกัน นั่นคือ เพื่อใช้ยืนยันตัวบุคคลเจ้าของลายมือชื่อนั่นเอง ประเภทแรก สร้างโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biometrics Technology) เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา ฝ่ามือ เสียงประเภทที่สอง ใช้เทคโนโลยีกุญแจสาธารณะ (Public Key) เรียกว่า ลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)
ลักษณะทั่วไปของลายมือชื่อดิจิตอล
  1. อยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์เรียงกัน โดยทั่วไปจะไม่แสดงความหมายให้มนุษย์เข้าใจได้
  2. ต้องอาศัยซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในการสร้าง
  3. หน้าตาของลายมือชื่อดิจิตอล ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ คือกุญแจส่วนตัวที่ใช้ในการสร้าง วิธีการสร้าง ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะทั่วไปของลายมือชื่อดิจิตอล
  1. การสร้างกุญแจคู่ (Key Pair) ประกอบด้วย กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในระบบรหัสแบบอสมมาตร (Asymmetric Cryptosystem)
  2. กุญแจส่วนตัว (Private Key) ผู้เป็นเจ้าของจะเป็นเพียงผู้เดียวที่รู้ว่ากุญแจของตนมีลักษณะเป็นอย่างไร และต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ ไม่ควรให้ผู้อื่นล่วงรู้ สามารถสร้างขึ้นมาเองหรือให้ผู้ประกอบการรับรอง (Certificate Authority) เป็นผู้สร้างให้
  3. กุญแจสาธารณะ (Public Key) จะต้องเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบและรู้ได้โดยปกติ ไม่จำเป็นต้องเก็บเป็นความลับ มักจะประกาศอยู่ในระบบเก็บรักษาข้อมูลของผู้ประกอบการเกี่ยวกับลายมือชื่อดิจิตอล

ผู้ประกอบการรับรอง (Certificate Authority)

เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure-PKI) ซึ่งช่วยให้สามารถระบุตัวบุคคลได้อย่างสะดวกและมีความน่าเชื่อถือสูง ทำหน้าที่เป็นตัวกกลางในการตรวจสอบและออกใบรับรองให้แก่ผู้อื่น
การใช้ลายมือชื่อดิจิตอล จะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่าย ได้แก่
  1. ผู้ส่งข้อมูล
  2. ผู้รับข้อมูล
  3. ผู้รับรองลายมือชื่อดิจิตอล
ผู้ประกอบการรับรอง ให้บริการใน 3 ด้านใหญ่ๆ ดังนี้
  1. บริการเทคโนโลยีเข้ารหัส (Cryptographic Service)
  2. บริการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรอง (Certification Management Service)
  3. บริการเสริม (Ancillary Service)

การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Data Communications)

การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Sender) หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source)
2. ผู้รับสาร (Receiver) หรือ จุดหมายปลายทางข่าวสาร (Target)
3. สาร ( Message ) ซึ่งในปัจจุบันมักพบเห็นในรูปของสื่อประสม ( multimedia ) ที่อาจมีทั้งลักษณะที่เป็นข้อความตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
4. สื่อกลาง ( Media )
5. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software ) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง กฎระเบียบมาตรฐาน หรือข้อกำหนด ขั้นตอน ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถสื่อการกันได้เข้าใจ ซอฟต์แวร์ ( Software ) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น โปรแกรมรับส่งอีเมล์

ชนิดของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์

1. สัญญาณแบบอนาล็อก (Analog signal) จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ของระดับสัญญาณจะมีความหมาย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
2. สัญญาณแบบดิจิทัล (Digital signal) จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาล็อก เนื่องจากมีการใช้งานค่าสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on / off หรือ 0 / 1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น